แมลงภู่ ไม้แกะ (หมุดทองคำ)
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
|||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ตู่ สาละวิน | ||||||||||||||||
โดย
|
vanglanna | ||||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
เครื่องราง | ||||||||||||||||
ชื่อพระ
|
แมลงภู่ ไม้แกะ (หมุดทองคำ) |
||||||||||||||||
รายละเอียด
|
แมลงภู่ ไม้แกะ (หมุดทองคำ) แมลงภู่ไม้แกะ ลงชาด คาด(หมุดทองคำ) ที่หัว ลงจารด้วยอักขระคาถา เจิมด้วยแป้งเสน่ห์ classic มากๆ ครับผม.. ตัวนี้ มีอายุ หลายปี ครับ.. แบบนี้ แสดงถึง ตัวผู้นำ.. ครับผม รายละเอียด เครื่องรางดินแดนล้านนา "แมลงภู่มหาเสน่ห์" หรือ "แมงปู๊" ภาษา ที่ไทยใหญ่ เรียกขานกัน ...เครื่องรางแบบนี้ ได้ถูกนำมาใช้ แต่สมัย ท่าน บุเรงนอง และมีบันทึก ไทยใหญ่ ไว้ว่า เมื่อยามศึกสงครามพม่าได้ใช้ศาสตร์นี้เสก แมลงภู่ที่อาถรรพ์นี้ ใช้เป็นอุปเท่เล่ห์กลในยามศึกต่างว่ากันเสกให้เป็นฝูงผึ้ง ฝูงต่อ-แตนได้ไปทำร้ายคู่ต่อสู้อีกฝ่ายให้เจ็บป่วย แล้วช่วงชิงบุก เอาชัย ...เป็นต้นมา และหลายๆท่านบอกชาวบ้านชายแดนใช้พกห้อยติดตัว บ้างก็แขวนไว้ในหน้าประตูบ้านฝั่งในบ้าน ...บ้างก็พ่อ-ค้า แม่่-ขาย ใช้แขวนไว้ในร้านค้า ของตน ต่างมีความเชื่อกัน ในเรื่อง ปกป้องกันภัย บ้างกันผูตผีปีศาจร้าย บ้างกันของคุณไสยเข้าตัว ค้าแม่นขายหมานต่างๆ นานา. .แมลงภู่นี้มีถิ่นกำเนิดจากจาก พม่า กรุง หงสาวดี ในแต่เดิม.. มีผู้เฒ่าแก่หลายท่าน ตามชายแดน บอก"แมงปู๊" นี้ไม่ธรรมดา แต่ก่อนในยุค สมัยนั้น...ได้สร้าง จากวัสดุที่วิเศษมาก * วัสดุ ที่ได้เคย พบเห็น และพบเจอ - เนื้อหินแกะ - เนื้อดินปั้นอาถรรพ์ - ไม้เนื้อหอม (เป็นไม้ที่พม่ามักนำมาสกัดเป็นเครื่องหอม) - ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้สัก เป็นต้น - เนื้องาช้างแกะ (งากระเด็น งาหักคาต้นไม้ เป็นต้น) - เนื้อเขาแกะ เช่น เขากวาง เขาเก้ง เขาควายป่า เป็นต้น - เนื้อเขี้ยวแกะ เช่น เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูตัน เป็นต้น -เนื้อโลหะ เช่นเนื้อโลหะทองผสม, เนื้อสำริด เป็นต้น - เนื้อ อื่นๆ ที่อาถรรพ์ อีกหลากหลาย เป็นต้น วัสดุ เหล่านี้ ใช้เวลาในการเสาะแสวงหา ตระเตรียม กว่ารวบรวมได้ แล้วมาจัดสร้างตาม ฤกษ์ยามอันดี .. โดยพ่อปู่ - พ่อครู ไทยใหญ่ ตามสถานที่นั้นๆ หรือ ตามเมืองนั้นๆ โดยเชื่อกันว่า เล่าเรียนมาจาก เหล่าเซียน ทั้งหลายในครั้งอดีตกาล มา.. มีผู้รู้ บอกผม ท่าน โบโบยี, พู่พู่อ่อง เป็นหนึ่งในตำราสร้าง แมลงภู่ นี้ (อันนี้เขียนความรู้เพิ่มเติมนิดหนึ่ง) ตามคำบอกเล่าผู้รู้ท้องถิ่นมาแชร์ประสบการณ์ แบ่งปัน กัน น่ะครับ.. * ความเชื่อ ในเรื่อง - ป้องกันภัยจากภูตผีปีศาจ - ป้องกันโจร - ป้องกันภัยจากคุณไสย - เสริมอำนาจวาสนา - ค้าแม่นขายหมาน (ค้าขายดี) - คนรักคนหลง - เป็นเสน่ห์ต่อเพศต่อข้าม - เป็นที่รักต่อคนและเทวดา ปัจจุบันแมลงภู่ยังมีการสร้าง ตลอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ .เจตนาของสร้าง ..คล้าย " เบี้ยแก้ " ไทย เครื่องราง ชาวไทยใหญ่ ต่าง ศรัทธากันมาก ผู้รู้เคยบอก และจากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ท้องถิ่น แมลงภู่ จะมีการจัดสร้าง ด้วยกัน อยู่ 2แบบ ด้วยกัน 1.ปรอทสำเร็จ ปรอท(โลหะ) 2.ปรอทน้ำ แบ่งแยกรายละเอียด ดังนี้.. * ปรอทสำเร็จ ปรอท(โลหะ) ศิลป์มาจาก เมืองหงสาวดี รูปแบบการแกะ โบราณ ไม่อ่อนช้อย เลียนแบบ สัตว์ในวรรณคดี เพราะว่าคนโบราณ มักจะจินตนาการ หรือ สร้างตามรูปฝาหนังอุโบสถและ เขย่าจะมีเสียงดัง แตรกๆ เสียงนี้ ก็ คือ ปรอทสำเร็จ ปรอท(โลหะ) จะมีด้วยกัน 3เม็ด เวลาเขย่า จะทำหน้าที่ เม็ด หัว-ท้าย ตกกระทบเม็ดกลาง ทำให้เกิดเสียงดัง แตร็กๆ * ปรอทน้ำ ศิลป์สวยๆ มาจากเมือง อิรวดี แกะโดยมีเลียนแบบได้เป็นธรรมชาติกว่า แมลงภู่จริงๆ เวลาเขย่าจะมีเสียงดังขลุกๆเพราะว่าปรอทวิ่งไปมา เป็นปรอทน้ำ โดยเจาะส่วนท้องบ้าง, ส่วนก้นบ้าง, ส่วนท้ายทอยบ้าง โดยการเอาปรอทน้ำเข้าไปแล้ว อุดด้วยมะเขือบ้า, บ้างก็อุดด้วยชันโรงใต้ดิน สมัยก่อนยังมีความเชื่อกันว่า : เสกปรอทเข้าท้องแมลงภู่ จนแมลงภู่บินได้ หรือ เสกให้ แมลงภู่ มีชีวิตกินปรอท เข้าไปในท้อง จนแมลงภู่บินได้ ถ้าตัวไหนบินไม่ได้ ก็ยังใช้ไม่ได้ ตัวที่ใช้ได้ต้องเสกจนบินได้เท่านั้น.. (แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล)เราเขียนตามคำบอกเล่าผู้เฒ่าแก่ .หยิบมาฝาก เรื่องราว ที่กระผมเอง เขียนเล่ามานี้ ได้มาจากประสบการณ์ และจากการสอบถามผู้รู้ตามท้องถิ่นและเครดิตข้อมูลจากหลายๆท่าน หวังว่าเรื่องราวเหล่านี้ คง จะเป็นประโยชน์ ต่อท่าน ไม่มาก ก็น้อย ข้อมูลท้องถิ่นพื้นบ้านชาวไทยใหญ่ และชาวล้านนา : ตู่ สาละวิน "รูปภาพ" และ "บทความ" นี้ ไม่อนุญาต ให้นำไปใช้โดย "พลการ" เรียบเรียงเขียน และ ค้นคว้าข้อมูล ตู่ สาละวิน |
||||||||||||||||
ราคา
|
ตู่ สาละวิน | ||||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
086-9210443 | ||||||||||||||||
ID LINE
|
tousalawin | ||||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
5,310 ครั้ง | ||||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารทหารไทย / 322-2-62235-3
|
||||||||||||||||
|